วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
Contemporary Thai Design
“กิตติวัฒน์ อุ่นอารมณ์”
ขนมปังหน้าศพ! เมนูสยอง ดังกระฉ่อนโลก
นับถึงนาทีนี้ ต้องยอมรับว่า ขนมปังที่นำมาปั้นให้เหมือนซากศพ ที่ใครเห็นต้องสยองขวัญ จากฝีมือรังสรรค์ของ “กิตติวัฒน์ อุ่นอารมณ์” หนุ่มจาก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ในนาม “อี้ดเบเกอรี่” (EAT BAKERY) เป็นที่รู้จักของคนในวงกว้าง ซึ่งไม่จำกัดแค่ในประเทศเท่านั้น ทว่า ดังไกลไปถึงต่างแดน กลายเป็นสินค้าส่งออกที่ชาวต่างชาติทึ้งในไอเดียคนไทย กิตติวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า หลังจากผลงานเริ่มออกสื่อต่างๆ เมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว มีผลตอบรับเข้ามาจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยคาดมาก่อน จากงานศิลปะที่ต้องการสื่อให้คนเราอย่ายึดติดในรูปลักษณ์ โดนผ่านขนมปังที่ทำเป็นศพ ดูไม่สวย จริงๆแล้ว กินได้ ไม่ได้คาดหวังให้แปลก เพื่อหวังผลทางการตลาด แต่ถึงวันนี้ มีคำสั่งซื้อมาจากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฯลฯ สร้างรายได้เป็นหลักแสนบาทต่อเดือน “ตั้งแต่สื่อเริ่มนำเสนอ ทำให้มีออเดอร์มาจำนวนมาก อย่างสำนักข่าวต่างประเทศ เช่น เอพี รอยเตอร์ ก็นำเสนอ ทำให้มีลูกค้ามาจากทุกมุมโลก ยิ่งในช่วงเทศกาลฮาโลวีนที่ผ่านมา สินค้าเป็นที่ต้องการมาก นอกจากนี้ ยังมีค่ายหนัง สั่งสินค้าไปโปรโมทหนังแนวสยองขวัญด้วย” ปัจจุบัน ช่องทางตลาด จะรับทำตามคำสั่งซื้อ กับส่งขายยังห้างสรรพสินค้าต่างๆ โดยแบบชิ้นส่วนอวัยวะเล็กต่างๆ อาทิ ตา หู จมูก นิ้ว ฯลฯ ชิ้นละ 50 บาท ส่วนชิ้นใหญ่ อาทิ หัว แขน ขา อยู่ที่ประมาณ 500 บาท ส่วนชิ้นใหญ่ๆ แบบคนครึ่งตัว อยู่ที่หลักหมื่น ส่วนงานใหญ่สุดที่เคยทำ คือ แบบศพเต็มตัว ประเทศเยอรมนี ซื้อไปในราคา 40,000 บาท กิตติวัฒน์ เผยว่า ผลงานขนมศพที่มีชื่อเสียงในวันนี้ ความจริงทำมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ที่ผ่านมา ไม่ได้ถูกนำเสนอในวงกว้าง โดยผลงานเก่า ๆ รุนแรงยิ่งกว่านี้เสียอีก โดยแรงบันดาลใจ เริ่มจากตัวเอง สนใจธรรมะ ประกอบกับที่บ้านขายเบเกอรี่อยู่แล้ว เมื่อตอนเรียนปริญญาตรี ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ่อไม่สบายเป็นเนื้องอกในสมอง ทำให้ทุกข์ใจมาก เลยคิดว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นจากกรรม ความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เน่าสลายไป เหมือนกับขนมปัง เก็บไว้หลายๆ วัน เวลามันบูดเน่า หนอนก็ขึ้นและกลิ่นเหม็นไม่ต่างจากคน จึงลองปั้นแป้งขนมปังเป็นศพคน แต่ทำเป็นเพียงงานศิลปะส่วนตัว ไม่ได้สานต่อ กระทั่ง เมื่อศึกษาต่อปริญญาโท คณะศิลปะศาสตร์ ม.ศิลปกร ได้ศึกษาเรื่อง “การพยายามรักษาสภาพลักษณะภายนอก” ใช้เทคนิคสื่อผสม เเสดงเนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์ที่เกิดจากร่างกาย ความเจ็บป่วยที่เกิดกับมนุษย์ในรูปเเบบต่าง ๆ จึงกลับมาทำงานนี้อีกครั้ง โดยเริ่มแรกดูแบบจากของจริงที่ รพ.ศิริราช แต่ที่มาเป็นธุรกิจได้ เพราะอยากหารายได้ช่วยทางบ้าน เลยลองเอาผลงานออกขาย กระทั่ง มีสื่อมวลชนนำเสนอ ชื่อเสียงเลยกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ส่วนที่ใช้ชื่อ “อี๊ด เบเกอรี่” เพราะเป็นชื่อร้านขนมปังของที่บ้าน อีกทั้ง พ้องเสียงกับคำว่า “EAT” ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า “กิน” สอดคล้องกับแนวคิด ของที่ดูน่าขยะแขยงก็อาจกินได้ จงอย่ายึดติดแค่ภายนอก ทั้งนี้ การทำศพขนมปัง ส่วนผสมเหมือนกับทำขนมปังปกติ ใช้แป้ง ไข่ นมสด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และช็อกโกแลต เป็นต้น ทว่า ความต่างอยู่ที่ปริมาณส่วนผสม การนวด และการอบ ที่เป็นเทคนิคเฉพาะตัว ใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่กว่า 3 ปี "แบบต่างๆ มาจากจินตนาการของผม หรือดูตามหนังสือ ไม่ได้นำมาจากใบหน้าผู้มีชีวิตอยู่จริง ทุกชิ้น ผมต้องปั้นด้วยมือทั้งหมด ไม่มีแม่พิมพ์ โดยต้องปั้นให้ขนาดเล็กกว่าที่ต้องการเล็กน้อย เผื่อสำหรับหลังอบขนมปังจะพองตัวขึ้น หลังจากนั้น จึงลงด้วยสีผสมอาหาร โดยรสชาติ และเนื้อขนมปังศพจะคล้ายคุกกี้ สามารถเก็บไว้กินได้ 3 วัน กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อไปเก็บโชว์มากกว่ากิน" ปัญหาในปัจจุบัน คือ ผลิตได้น้อย อย่างมากแค่ 100 ชิ้นต่อเดือน เนื่องจากเป็นงานทำมือ ใช้เทคนิคเฉพาะตัว แม้แต่แม่และพี่สาวของเขาที่เชี่ยวชาญการทำเบเกอรี่ ก็ไม่สามารถช่วยได้ ทว่า ความยาก ก็มีประโยชน์ เพราะไม่ถูกใครเลียนแบบ แต่ก็เตรียมไปจดเครื่องหมายการค้า “อี้ด เบเกอรี่” ไว้ด้วย ส่วนในอนาคตจะพัฒนางานด้วยการออกแบบใหม่ๆ โดยอยู่ภายใต้แนวคิดเดิม คือ อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น และสิ่งที่เห็นอาจจะไม่เป็นอย่างที่คิด “ผมคิดว่า งานประเภทนี้ มันยังไปได้อีกไกล เมื่องานศพขนมปังอิ่มตัว ผมก็จะออกแบบใหม่ๆ โดยยังอยู่ในแนวคิดเดิม ซึ่งมันพัฒนาไปได้อีกมาก เช่น อาจทำเป็น ซากหมาเน่า หรือซากศพของสัตว์ต่างๆ แต่ผมคงไม่โปรโมทอะไรมาก เพราะถ้าเราไปมุ่งด้วยการตลาด จะทำให้ไม่มีเวลา พัฒนาการของงานจะน้อยลง ผมจึงอยากทำงานให้ดีที่สุด” สำหรับเสียงสะท้อนในผลงานที่ผ่านมา กิตติวัฒน์ บอกว่ามีทั้งแง่บวก และลบ คนที่ชอบ จะบอกว่า เป็นไอเดียดี ช่วยทำให้เห็นถึงความเป็นจริงของธรรมชาติมนุษย์ ส่วนแง่ร้ายบอกว่า ปลูกฝังความรุนแรงให้แก่เด็ก “เคยมีผู้ปกครองบอกว่า ลูกเขาเห็นแล้ว พูดว่า ‘อยากกินศพ’ ทำให้ผมกังวลประเด็นนี้มาก ก็คิดแบบเข้าข้างตัวเองว่า เด็กแค่ยึดติดกับรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นขนมปังกินได้ เขาไม่ได้อยากกินศพจริงๆ ถ้าพ่อแม่ช่วยแนะนำว่า จริงๆ แล้ว มันเป็นแค่ขนมปังที่ทำให้เหมือนศพ ไม่ได้เป็นศพจริงๆ ลูกอย่ายึดติดกับแค่สิ่งที่เห็น ก็จะเป็นการสอนอีกแนวทางหนึ่ง”
แนวความคิด(concept)
จากหลักพระพุทธศาสนาซึ่งมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รูปแบบการสื่อสาร(form)
ให้ผู้ที่ผ่านไปมาได้รับชมการเปลี่ยนแปลงของขนมปังที่อยู่ในรูปทรงของมนุษย์ที่เก็บไว้นานจน ขึ้นรา เน่า
สื่อที่เลือกใช้(media)
เลือกใช้ขนมปังมาเพื่อสื่อถึงร่างกายคนที่ต้องเน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา
วิธีการสื่อสาร(how to communicate)
สื่อสารโดยเล่นกับความรู้สึกของคนดูเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของสังขาร
เป็นการสื่อสารแบบทางตรงหรือทางอ้อม(direct or indirect communicate)
เป็นการสื่อสารแบบทางตรงเพื่อให้เกิดความปลงกับชีวิต
กลุ่มเป้าหมาย(target group)
บุคคลที่มีความสนใจ
ความเชื่อมโยงทางสังคม วัฒนะธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ(relatiomship)
เกี่ยวข้องกับสังคม ศาสนาและความเชื่อ
ผล(result)
สื่อสารให้ผู้ชมได้รับรู้เชิงเปรียบเทียบในเรื่องความไม่แน่นอนของชีวิต
วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)